สถาบันวิจัย ศก.จงหัว สำรวจพบ หลังโควิด ผปก. ¼ ยังให้ทำงานทางไกลได้

การแพร่ระบาดของโควิดทำให้การ work from home กลายเป็นเรื่องปกติ หลังจากเกิดโรคระบาด บริษัท 1 ใน 4 ยังคงให้ work from home อย่างไรก็ตาม บริษัทด้านทรัพยากรบุคคลเชื่อว่าแม้ว่าการ work from home จะช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางของพนักงานได้ แต่ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานขณะทำงานนอกสถานที่จะกำหนดความรับผิดชอบได้อย่างไร ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่
ทำงานทางไกลเป็นสวัสดิการ ยากกำหนดความรับผิดชอบอุบัติเหตุการทำงาน
ช่วงโควิด-19 ระบาด หลายบริษัทกังวลกับคลัสเตอร์ จึงแบ่งพนักงานให้ทำงานที่บ้านหรือทำงานทางไกล แต่หลังโควิดก็ยังมีบริษัทบางส่วนดำเนินมาตรการให้ทำงานทางไกล และนำการทำงานทางไกล มาเป็นเงื่อนไขสวัสดิการในการสรรหาบุคลากรด้วย
==เฉินซินฮุ่ย // จนท.ผู้ช่วยฝ่ายวิจัยที่ 3 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจจงหัว==
หลังโควิดน่าจะยังมี 25% ของผู้ประกอบการที่ดำเนินมาตรการนี้
ประสิทธิภาพ ผลงาน ความปลอดภัยข้อมูล อาจท้าทายการทำงานทางไกล
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจจงหัว (Chung-Hua Institution for Economic Research) พบว่า จากแบบสอบถามกว่า 2,000 ชุด คนทำงานทางไกลจำนวนไม่น้อยเห็นว่า การทำงานทางไกลทำให้พวกเขามีเวลาดูแลครอบครัวมากขึ้น และยังลดเวลาในการเดินทางด้วย แต่อย่างไรก็ตามสำหรับระดับบริหารและไม่ใช่ระดับบริหารเผยว่า ประสิทธิภาพการทำงาน การประเมินผลงาน และการป้องกันความปลอดภัยข้อมูล ล้วนมีมุมมองที่แตกต่างกัน ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลเตือนว่า การทำงานทางไกลมีการประชุมที่ต่างจากในอดีต การประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์นอกจากมีต้นทุนเรื่องเวลาเพิ่มเข้ามาแล้ว ยังต้องใส่ใจถึงปัญหาอุบัติเหตุจากการทำงานด้วย
==เฉินเสี่ยวหัว // รองผู้จัดการบริษัททรัพยากรบุคคล==
สมมติว่าพนักงานทำงานจากที่บ้าน
หรือเขาเลือกทำงานในสถานที่ที่หนึ่ง
หากเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานกับเขา
การกำหนดความรับผิดชอบต่ออุบัติเหตุ
จริงๆ แล้วเป็นลูกจ้างหรือนายจ้าง
ทำงานทางไกลกลายเป็นเรื่องปกติ ต้องไม่กระทบสิทธิ รง. และความสัมพันธ์
ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการ เห็นว่า การประเมินผลการปฏิบัติงานที่สมเหตุสมผลกับการวางแผนทางสังคมอย่างเหมาะสม จึงจะสามารถรับรองได้ว่าการทำงานทางไกล จะไม่กระทบต่อสิทธิ
แรงงานและแรงงานสัมพันธ์ เพื่อให้การทำงานทางไกลกลายเป็นรูปแบบใหม่ของการทำงาน