ผู้ลี้ภัยเมียนมารวมตัวที่ชายแดนไทย-เมียนมา หนุนกองกำลังต่อต้านรัฐบาล

อริสา แสนประเสริฐ
發布時間: 更新時間:

เมื่อช่วงปลายเดือนตุลาคม กองกำลังต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา เริ่มปฏิบัติการตอบโต้กองทัพเมียนมาในพื้นที่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออก อย่างไรก็ตาม หลังการรัฐประหารในเมียนมา คลื่นผู้ลี้ภัยทางการเมืองทะลักเข้าสู่ประเทศไทย โดยรวมกลุ่มกันอยู่ในหมู่บ้านตามแนวชายแดนไทย ช่วงสองปีครึ่งที่ผ่านมา พวกเขาพยายามช่วยเหลือกลุ่มต่อต้านรัฐบาลในเมียนมาด้วยวิธีการต่างๆ

บาร์ชายแดนให้สถานที่หลบภัยสำหรับผู้ลี้ภัยชาวเมียนมา

บาร์เล็กๆ แห่งนี้เปิดเมื่อต้นปีตั้งอยู่ในเมืองชายแดนระหว่างไทยและเมียนมา บาร์แห่งนี้ก็เหมือนกับเมืองนี้ เป็นที่หลบภัยของชาวเมียนมาที่หลบหนี

==หยางจื้อเฉียง // ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ PTS==
สะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา ที่ข้ามพรมแดน
เชื่อมโยงผู้คนและการค้าระหว่างไทยและเมียนมา มายาวนาน
อย่างไรก็ตามสะพานแห่งนี้ถูกปิด
หลังรัฐประหาร 2564
จนเพิ่งจะเปิดอีกครั้งเมื่อต้นปีนี้
แต่ในช่วงเวลานี้
ผู้ลี้ภัยทางการเมืองหลายหมื่นคนข้ามชายแดนอย่างผิดกฎหมาย
เพื่อหลบหนีการจับกุมของรัฐบาลทหาร

รัฐบาลทหารเมียนมาปราบปรามนักเคลื่อนไหว กระตุ้นผู้ลี้ภัยหลั่งไหล

หลังจากการรัฐประหารในเมียนมาในปี 2564 ชาวเมียนมาจำนวนมากพากันออกไปประท้วงตามท้องถนน อย่างไรก็ตาม มิน ออง หล่าย ได้ดำเนินการปราบปรามอย่างรุนแรงและตามล่านักเคลื่อนไหวทางสังคมที่ออกมาประท้วงตามท้องถนน ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากหนีมาเมืองไทย เช่น เมืองชายแดนไทย-เมียนมาอย่างแม่สอด ได้เห็นผู้ลี้ภัยหลั่งไหลเข้ามาหลายแสนคนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระในประเทศไทยเพราะไม่มีเอกสารทางกฎหมาย

==ผู้ลี้ภัยทางการเมืองเมียนมา==
เพราะตำรวจไทยจะจับ
เราไปตลาดใกล้บ้านเพื่อซื้ออาหารเท่านั้น
8 เดือนแรกหลังจากที่มาที่นี่ลำบากมาก
เรากลัวที่จะออกไปข้างนอก

สนับสนุนกองกำลังต่อต้านรัฐบาลทหารต่อเนื่องและรอคอยวันจะกลับบ้าน

แม้ว่าผู้ลี้ภัยจะอยู่ต่างแดน แต่ก็ยังห่วงสถานการณ์ในเมียนมา พวกเขายังคงสนับสนุนกองกำลังต่อต้านรัฐบาลทหารด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อที่จะกลับคืนสู่บ้านเกิด พวกเขาต้องพยายามอย่างเต็มที่