ชาวปากีสถานเผชิญโรคลมแดดและภาวะขาดน้ำ หลังอุณหภูมิระอุทะลุ 49°C

ทั่วโลกกำลังเผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรง โดยในสัปดาห์นี้ปากีสถานต้องเผชิญกับอุณหภูมิสูงถึง 49°C ประชาชนต้องเผชิญกับโรคลมแดดและภาวะขาดน้ำ
ไม่ได้มีเพียงเอเชียใต้ที่กำลังเผชิญกับคลื่นความร้อนนี้เท่านั้น ยุโรปและสหรัฐก็ได้รับผลกระทบจากคลื่นความร้อนนี้เช่นกัน โดยกรุงโรมนั้นมีอุณภูมิสูงถึง 40°C รวมถึงพื้นที่คาบสมุทรบอลข่านด้วย
เขตปกครองตนเองซินเจียงในจีนมีอุณหภูมิสูงถึง44°C เซี่ยงไฮ้เองก็ทะลุ 35°Cเช่นกัน
รายงานล่าสุดของ IPCC ระบุว่า 100ปีที่ผ่านมานี้ อุณภูมิโดยเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น 1.2 °C นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมศตวรรษที่ 19 IPCC ยังระบุว่า ความร้อนที่เพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงของมนุษย์ และอุณหภูมิที่สูงอย่างต่อเนื่องนี้ยังส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของมวลมนุษยชาติ
จากการติดตามการวิเคราะห์อากาศ "Climate Action Tracker" พบว่า หากทั่วโลกช่วยกันลดอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯตามที่ตั้งเป้าไว้ โลกจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น 2.7 °C ในปลายศตวรรษนี้ และภายใต้อุณภูมิที่สูงขึ้น 2°Cนี้ ที่ผ่านมาจากที่ต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนในทุกๆ 10 ปี กลายเป็นต้องเผชิญในทุกๆ 2 ปี หากเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯล้มเหลว อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะสูงขึ้น 4°C และข่าวภัยอันตรายจากคลื่นความร้อนนี้อาจพบได้ทุกปีจากเดิมที่พบในทุกๆ 10 หรือ 50 ปี